สังคมทำเงิน Make Money Online



Join the forum, it's quick and easy

สังคมทำเงิน Make Money Online

สังคมทำเงิน Make Money Online

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
สังคมทำเงิน Make Money Online

สังคมแห่งการแบ่งปัน แบ่งปันรายได้ แบ่งปันความรู้ แบ่งปันสาระ

clock

Similar topics

    ราคาทองคำวันนี้

    Statistics

    Post ทั้งหมด 1432 หัวข้อ in 641 subjects

    สมาชิกทั้งหมด 398 คน

    สมาชิกล่าสุดคือ dekinw

    เข้าสู่ระบบ(Log in)

    ลืม(forget) password

    ราคาน้ำมัน

    ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน

    music online

    Ad

    คนออนไลน์

    website counter

    map


      เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล Portrait (FOTOINFO)

      avatar
      Admin
      Admin


      จำนวนข้อความ : 698
      Join date : 06/06/2010

      เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล Portrait (FOTOINFO) Empty เทคนิคการถ่ายภาพบุคคล Portrait (FOTOINFO)

      ตั้งหัวข้อ  Admin Mon Sep 09, 2013 11:22 am



      ไม่ว่าเราจะถ่ายภาพบุคคลที่เป็นดาราผู้โด่งดังคับฟ้า เป็นเศรษฐีพันล้าน หรือเป็นตาสียายสายากจนไร้คนรู้จัก มันก็ต้องใช้พื้นฐานหรือความรู้ทางการถ่ายภาพในแบบเดียวกัน ซึ่งเรื่องพื้นฐานที่สุดที่ต้องยกมากล่าวถึงเป็นลำดับแรกก็คือเรื่องของ แสง ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น 2 ส่วน คือ ลักษณะของแสง และทิศทางแสง

      ลักษณะของแสงในการถ่ายภาพพอร์เทรต

      มีหลัก ๆ อยู่ 2 แบบคือ แสงนุ่ม และแสงแข็ง

      1. แสงนุ่ม คือ แสงในวันที่ฟ้าหลัว มีเมฆมาก หรือแสงจากภายในอาคาร หากเป็นแสงจากแฟลช ก็ต้องยิงผ่านซอฟท์บ๊อกซ์ ผ่านร่มสะท้อน ร่มทะลุ หรือเครื่องกรองแสงประเภทต่าง ๆ เป็นแสงที่ให้ความสว่างกับวัตถุ แต่จะไม่มีเงาเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อยมาก

      คุณสมบัติของแสงนุ่ม คือ ให้คอนทราสต่ำ ให้รายละเอียดของวัตถุได้สูง ให้ภาพที่ดูนุ่มนวลตากว่า แต่ก็เป็นแสงประเภทที่ทำให้วัตถุดูแบน ๆ ขาดมิติ

      2. แสงแข็ง คือแสงจากแหล่งกำเนิดแสงตรง ๆ แรง ๆ เช่น วันที่ฟ้าไร้เมฆ ดวงอาทิตย์ลอยเด่นทั้งวัน หรือแสงจากแฟลชที่ยิงเข้าวัตถุตรง ๆ โดยไม่ผ่านเครื่องกรองแสงใด ๆ หรือแม้กระทั่งไฟจากสปอตไลท์ที่ฉายเข้าวัตถุจากในระยะใกล้ก็ถือเป็นแสงแข็งได้เช่นกัน

      คุณสมบัติของแสงแข็ง ก็คือ ให้คอนทราสจัด ให้สีสันที่สดใสจัดจ้าน ให้ภาพที่ดูคมและแข็ง แต่ก็อาจทำให้วัตถุขาดรายละเอียดในบางส่วน เช่น ส่วนที่มีสีขาวจัด ๆ ส่วนที่สะท้อนแสงได้ดี และส่วนที่อยู่ในเงามืด และก็เป็นแสงประเภทที่ทำให้วัตถุดูมีมิติ มีความลึกได้ชัดเจนกว่าแสงนุ่ม

      อย่างไรก็ตาม แสงทั้งสองลักษณะนี้ไม่มีข้อเสีย แต่มีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาพที่เราต้องการมากกว่าว่า ควรจะนำแสงในลักษณะใดไปใช้ให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องไปถ่ายภาพบุคคลที่แสดงเป็นนักรบ ไปถ่ายนักกีฬา หรือถ่ายแฟชั่นชุดว่ายน้ำ เหล่านี้ ก็น่าจะเหมาะกับการใช้แสงแข็ง ๆ เป็นหลักมากกว่าแสงนุ่ม

      ในทางตรงกันข้าม หากบุคคลที่คุณจะถ่ายคือคู่บ่าวสาว คือเด็กทารก หรืออะไรประมาณนี้ ยังไงเสียแสงที่จะใช้เป็นหลักก็ไม่พ้นต้องเป็นแสงนุ่มไว้ก่อน

      เรื่องควรรู้เกี่ยวกับทิศทางของแสง

      แสงหน้าตรง แสงในทิศทางนี้จะให้รายละเอียดของวัตถุได้ดีใน ขณะที่จะทำให้วัตถุดูค่อนข้างแบนราบ

      แสงเฉียงข้าง ตามมาตรฐานคือ 45 องศาจากทางด้านซ้ายหรือขวา แสงในทิศทางนี้ให้ภาพของวัตถุที่ดูมีความลึก มีมิติ มีรูปทรงที่ชัดเจน ในขณะที่วัตถุอาจขาดรายละเอียดในบางส่วน โดยเฉพาะส่วนที่อยู่ในเงามืด

      แสงหลัง แสงในทิศทางนี้ให้รายละเอียดของวัตถุได้น้อย มิติความลึกก็ไม่มี แต่จะเป็นแสงที่ขับเน้นโครงร่างบริเวณขอบของวัตถุได้ชัดเจน

      แสงริมไลท์ (Rim Light) ซึ่งเป็นแสงที่ทำให้เกิดความสว่างบริเวณขอบของวัตถุ โดยเฉพาะในส่วนที่โปร่งแสง เช่น เส้นผม แต่เนื่องจากมันเป็นแสงที่เข้ามาจากด้านหลังของวัตถุ ดังนั้น จึงมักนิยมใช้ร่วมกับแสงอีกส่วนหนึ่งที่เสริมเข้าไปยังด้านหน้าของวัตถุ ซึ่งสามารถสร้างได้จากการใช้แผ่นสะท้อนแสง (Reflex) ประเภทต่าง ๆ หรือแสงจากแฟลช

      เรื่องทิศทางของแสงนี้ สามารถทดลองให้เห็นด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ ด้วยไฟฉายหนึ่งกระบอกกับการยืนในที่มืด ๆ เป็นต้นว่า ฉายลงมาจากด้านบนศีรษะโดยตรง ฉายเฉียงเข้ามาจากด้านข้าง 45 องศา หรือฉายจากด้านข้างแบบ 90 องศา แล้วก็ลองสังเกตุความแตกต่างที่เกิดขึ้นดู จะเห็นได้ว่า ด้วยทิศทางแสงที่แตกต่างกันจากไฟเพียงดวงเดียวนั้น สามารถทำให้บุคลิกลักษณะของคน ๆ เดียว เปลี่ยนแปลงและแปลกแตกต่างกันออกไปได้อย่างง่ายดาย

      ดังนั้น หากเรารู้จักเลือกใช้ลักษณะของแสงที่เหมาะสมประกอบไปกับทิศทางแสงที่ดี เราก็สามารถกำหนดหรือสร้างอารมณ์ของภาพขึ้นมาได้ (ส่วนอารมณ์ของแบบนั้น เดี๋ยวว่ากันอีกที)

      ในเรื่องลักษณะและทิศทางแสงนี้ มีแสงแบบหนึ่งที่นิยมใช้กันมากจนมีชื่อเรียกแสงแบบนี้โดยเฉพาะ ก็คือ แสงจากหน้าต่าง (Window Light) หรือก็คือ แสงนุ่ม ๆ ที่เฉียงเข้าด้านข้างหรือด้านหน้า (ขึ้นอยู่กับว่าจะให้แบบหันหน้าไปทางใด หรือเราอยากได้ภาพในลักษณะใด) แสงลักษณะนี้จะให้ภาพบุคคลที่นุ่มนวล ในขณะที่ภาพยังดูมีมิติด้วยคอนทราสที่เกิดขึ้นเล็กน้อย

      แม้แต่การจัดถ่ายด้วยไฟสตูดิโอก้ยังมีการจัดแสง เพื่อเลียนแบบแสงจากหน้าต่างที่ว่านี้เช่นกัน ซึ่งการจัดแสงด้วยไฟแฟลชหรือไฟต่อเนื่องนั้น ทำให้นักถ่ายภาพกำหนดความเข้มและทิศทางของแสงได้ง่ายขึ้นนั่นเอง เพราะก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้แสงนุ่มมาก ๆ เพียงอย่างเดียวเสมอไป




      อารมณ์ของภาพ

      การถ่ายภาพบุคคลในบางลักษณะต้องยอมให้เรื่องของแสงเป็นความสำคัญในอันดับรองลงไป โดยยกเอาอารมณ์(Mood) ของบุคคลที่เราจะถ่ายขึ้นมาเป็นเรื่องเอกแทน เพราะอารมณ์ที่ว่านี้มันสร้างขึ้นมาได้ยากกว่าแสงเป็นไหน ๆ และเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว นักถ่ายภาพ ก็ต้องไวพอที่จะเก็บเสี้ยวเวลาเหล่านั้นให้ทัน ด้วยว่าอารมณ์มักเป็นสิ่งที่ผ่านแล้วผ่านเลย ไม่สามารถเค้นหรือสร้างขึ้นมาใหม่ได้ง่าย ๆ

      ภาพบุคคลที่ว่านี้ก็คือภาพบุคคลในแนวสตรีท แนวไลฟ์ ภาพข่าว หรือสารคดี ภาพถ่ายบุคคลในแนวทางเหล่านี้ มันต้องเล่าเรื่องได้ สร้างความสะเทือนอารมณ์แก่ผู้ชมภาพได้เป็นลำดับแรก ถ้าได้ความสวยงามของแสงเข้ามาช่วยได้อีกก็สมบูรณ์แบบ แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย

      สำหรับการถ่ายภาพบุคคลในลักษณะนี้ ต้องมีการวางแผนการถ่ายล่วงหน้าให้ดี เลือกเลนส์ให้เหมาะสม ปรับกล้องให้อยู่ในแบบที่ยกขึ้นถ่ายภาพได้ทันที บางทีอาจต้องเข้าไปคุยสร้างความคุ้นเคยให้สนิทสนมกับตัวแบบเสียก่อน แต่บางทีอาจทำได้เพียงแค่เดินเฉียดผ่านแล้วกดชัตเตอร์เพียงครั้งเดียว

      และเมื่อมันเป็นการถ่ายภาพบุคคล อารมณ์ที่จะเกิดขึ้นและเห็นได้ชัดมันก็ต้องเป็นจากสีหน้าและดวงตาของบุคคลผู้นั้นนั่นเอง อาจรวมเสื้อผ้าทรงผมเข้าไปด้วย หรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่รายล้อมอีกก็ได้ถ้าใช้เลนส์มุมกว้างในการถ่ายภาพ แต่ดวงตาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคล

      การจัดวางท่าทาง หรือการโพสท่า

      ผ่านมาถึงเรื่องการจัดวางท่าทางหรือการโพสท่ากันบ้าง เรื่องนี้สำคัญกับการถ่ายภาพบุคคลแบบสวยงาม เช่น วันรับปริญญา หรือภาพพรีเวดดิ้ง การถ่ายภาพบุคคบแนวแฟชั่น รวมทั้งการถ่ายภาพบุคคลอย่างเป็นทางการ เพราะภาพบุคคลในแนวนี้ส่วนใหญ่ต้องการความเนียบ ความสวยงามอย่างสมบูรณ์แบบเป็นหลัก

      แล้วถ้าเป็นภาพแฟชั่นล่ะ ? อันนี้ไม่มีอะไรตายตัวเลย ขึ้นอยู่กับธีมของการถ่ายภาพในเซ็ทนั้น ๆ เป็นหลักว่าต้องการให้ภาพออกมาในโทนใด อารมณ์ไหน ก็ใช้การจัดท่าทางของหน้าแบบกระตุ้นอารมณ์ได้อีกทางหนึ่งนอกเหนือไปจากการจัดแสง

      การจัดวางท่านั้น นอกจากจะทำให้แบบดูสวยสง่างามแล้ว บางครั้งยังเป็นการลบเลี่ยงจุดด้อยต่าง ๆ บนร่างกายได้อีกด้วย โดยเฉพาะส่วนเกินต่าง ๆ โดยขอให้แบบบิดนิดก้มหน่อย ก็ช่วยทำให้เขาเหล่านั้นดูดีขึ้นได้เยอะอย่างไม่น่าเชื่อจนแทบไม่ต้องมารีทัชเพิ่มเติมภายหลังด้วยซ้ำ (แต่กกับภาพบางลักษณะก็ต้องรีทัชกันเยอะ โดยเฉพาะแฟชั่นหรือภาพที่ใช้ในการโฆษณา)

      การเลือกมุมถ่ายภาพ

      อีกหนึ่งเรื่องสำคัญก็คือ การเลือกมุมที่นายแบบนางแบบหน้าตาดูดีที่สุด (ในกรณีถ่ายภาพแนวแฟชั่น ภาพรับปริญญา ภาพพรีเวดดิ้ง) หากเรามีแบบหน้าตาดีปัญหานี้จะไม่ค่อยเกิดให้กังวลใจ แต่ถ้าไม่ใช่ก็เหนื่อยหน่อย และถือเป็นหน้าที่โดยตรงของช่างภาพอันจะต้องค้นหาเหลี่ยมมุมที่ใบหน้าบุคคลผู้นั้นดูดีที่สุดออกมาให้ได้

      แต่ก็ใช่ว่าเมื่อหาเจอแล้วเราจะต้องถ่ายภาพมุมนั้นไปตลอด เป็นต้นว่า น้องคนนี้คางจะดูใหญ่ถ้าถ่ายหน้าตรง แต่ถ้าถ่ายด้านข้างศรีริต้าก็มาเหอะ น้องสวยสู้ได้ค่ะ แล้วเราก็เลือกแต่จะถ่ายภาพมุมนั้นไปทั้งวัน เพราถ้ามาดูภาพเป็นชุดในภายหลัง รับรองว่าขำไม่ออกแน่ คนบ้าอะไรหันข้างได้ทั้งวัน คือยังไงซะมุมหน้าตรงมันก็ต้องถ่ายตามปกติ เพียงแต่ต้องเลี่ยง ๆ อย่าไปถ่ายเน้นเฉพาะใบหน้า ให้ถ่ายเต็มตัวเข้าไว้ เมื่อจะถ่ายครอปเน้น ๆ ก้ค่อยเลือกมุมด้านข้างเข้าว่าเป็นหลัก

      อย่างไรก็ตาม บางทีมันก็เลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะกับสถานการณ์ที่ต้องถ่ายภาพบุคคลเพียงคนเดียวเป็นจำนวนมาก และต่อเนื่องทั้งวันอย่างงานรับปริญญา เจออย่างนี้ก็ต้องใช้เรื่องของแสงเป็นตัวช่วยด้วยอีกทางหนึ่ง ส่วนที่ดูด้อย ๆ ก็พยายามให้มันหลบอยู่ในมุมมืดซะ ด้วยการใช้แสงแบบเฉียงด้านข้างอะไรอย่างนี้เป็นต้น





      อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพพอร์เทรต

      เลนส์ เลนส์พอร์เทรต ซึ่งมีหลัก ๆ อยู่สามทางยาวโฟกัสในช่วงเลนส์เทเลฯ ต้น ๆ อันได้แก่ เลนส์ 85 มม., 105 มม. และ 135 มม. เสนส์สามตัวนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพบุคคลแบบครึ่งตัว หรือ เฮตแอนด์โชว์เดอร์ เป็นอย่างยิ่ง เพราะมันจะให้สัดส่วนที่สวยงาม ในขณะที่สามารถทิ้งฉากหลังให้เบลอได้ง่าย อันเป็นภาพยอดนิยม

      แต่หากนิยามของคำว่า พอร์เทรตของเรากว้างกว่านั้น เลนส์ที่สามารถนำมาใช้งานก็ย่อมต้องกว้างขึ้นเช่นกัน ซึ่งมันอาจเป็นได้ตั้งแต่เลนส์ฟิชอายไปกระทั่ง ซุปเปอร์เทเลโฟโต้ก็ย่อมได้ และจะเป็นเลนส์เดี่ยวหรือเลนส์ซูมก็ได้ทั้งนั้น

      แผ่นสะท้อนแสง ในกรณีที่ต้องการให้ใบหน้าดูใส ๆ เคลียร์ ๆ อันนี้เหมาะจะเอาไว้ใช้กับการถ่ายภาพแนวแฟชั่นหรือพรีเวดดิ้ง หรืองานวันรับปริญญา

      แฟลช (flash) สามารถนำมาใช้เป็นได้ทั้งแสงหลักของการถ่ายภาพ หรือเป็นแสงเสิรมร่วมกับแสงธรรมชาติ หรือใช้เป็นทั้งแสงหลักแสงเสริม หากมีแฟลชมากกว่าหนึ่งดวงขึ้นไป และมีอุปกรณ์ควบคุมแฟลชให้ทำงานพร้อมกันหลาย ๆ ดวงได้


      เทคนิคเบื้องต้นสำหรับการถ่ายภาพพอร์เทรต

      การเลือกหรือจัดแสงว่าเราต้องการให้ภาพออกมาในอารมณ์หรือบุคลิคแบบไหน ก็จัดแสงให้ได้อย่างนั้น ความชำนาญเท่านั้นที่จะช่วยคุณได้ในกรณีนี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่าการทำการบ้านให้หนัก ฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเอาไว้เยอะ ๆ เมื่อเจองานจริง ๆ จะได้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด

      การโฟกัส ต้องเน้นที่ตา ให้เข้าโฟกัสแบบกริ๊บ ๆ ดีที่สุด จำไว้ให้ดีว่าการถ่ายภาพสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด(ยกเว้นพืช) สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรจะให้ชัดก็คือดวงตา หู จมูก ปาก อาจเบลอได้ไม่เสียหายอะไร แต่ถ้าดวงตาเบลอส่วนมากแล้วภาพนั้นจะเป็นภาพเสียมากกว่าภาพดี

      ช่องรับแสง ควรเลือกใช้ช่องรับแสงอยู่ราว ๆ F/2.8-4 หรือ F/5.6 ก็ยังได้ ถ้าถ่ายในระยะใกล้มาก ๆ รับรองว่าฉากหลังยังไงก็เบลอ เพราะที่ช่องรับแสงกว้างสุดแถว ๆ F/1.2 หรือ F/1.4 หรือแม้แต่ F/1.8 นั้น หากถ่ายในระยะใกล้มาก ๆ ช่วงความชัดที่เกิดขึ้นว่ากันเป็นเซนติเมตร หรือาจจะแค่มิลลิเมตรเท่านั้น มือไม่นิ่ง แบบไม่นิ่งจริง หรือโฟกัสไม่ถูกตำแหน่งจริง ๆ จะเสียคนเอาได้ง่าย ๆ

      ทั้งนี้ หากอยากเป็นนักถ่ายภาพพอร์เทรตมือฉมัง ควรหัดเลือกใช้แสงให้ดี ฝึกเค้นอารมณ์และตัวตนของแบบออกมาให้ได้ อย่ามัวแต่ไปเลือกนายแบบนางแบบหน้าตาดี มีพริตตี้ที่ไหนเฮไปที่นั่น อย่างนั้นเป็นเรื่องยากที่จะได้ภาพพอร์เทรตดี ๆ แต่ถ้าความต้องการของคุณเป็นอย่างอื่นก็ไม่ว่ากัน

        เวลาขณะนี้ Fri Apr 26, 2024 10:33 pm