สังคมทำเงิน Make Money Online



Join the forum, it's quick and easy

สังคมทำเงิน Make Money Online

สังคมทำเงิน Make Money Online

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
สังคมทำเงิน Make Money Online

สังคมแห่งการแบ่งปัน แบ่งปันรายได้ แบ่งปันความรู้ แบ่งปันสาระ

clock

ราคาทองคำวันนี้

Statistics

Post ทั้งหมด 1432 หัวข้อ in 641 subjects

สมาชิกทั้งหมด 398 คน

สมาชิกล่าสุดคือ dekinw

เข้าสู่ระบบ(Log in)

ลืม(forget) password

ราคาน้ำมัน

ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน

music online

Ad

คนออนไลน์

website counter

map


    เมล็ดหมามุ่ย สรรพคุณ

    avatar
    Admin
    Admin


    จำนวนข้อความ : 698
    Join date : 06/06/2010

    เมล็ดหมามุ่ย สรรพคุณ Empty เมล็ดหมามุ่ย สรรพคุณ

    ตั้งหัวข้อ  Admin Tue Sep 03, 2013 2:17 pm



    เคยทราบว่ามีผู้วิจัยพบว่าหมามุ่ยมีประโยชน์ รายละเอียดประโยชน์อย่างไร

    เมล็ดหมามุ่ย สรรพคุณ You02201155p1



    หมามุ่ย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mu cuna pruriens (L.) DC. วงศ์ FABA CEAE มีชื่ออื่นๆ ในภาษาถิ่น คือ กลออื้อแซ โพล่ยู มะเหยือง หมาเหยือง เป็นพืชลุ้มลุกตระกูลถั่ว มีชื่อคุ้นหูคนไทยมานานแล้ว แต่เมื่อจินตภาพถึงก็จะไปโยงถึงอาการคันคะเยอ แพ้เป็นผื่นบวมแดง แต่ล่าสุด หมามุ่ยกำลังผงาดขึ้นมา สร้างคุณประโยชน์สรรพคุณทางยาที่สำคัญ ภายหลังจากนักวิจัยไทยซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สามารถสกัดเอาสารตามธรรมชาติในหมามุ่ยมาผลิตเป็นยาสมุนไพรบำรุงสเปิร์ม และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย



    ความสำเร็จในการนำหมามุ่ยมาวิจัยต่อยอดสร้างยาสมุนไพร เปิดเผยในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2554 โดย ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรชำนาญการ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เปิดเผยว่า หมามุ่ยเป็นสมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่ใช้อย่างแพร่หลายในอดีต แต่ปัจจุบันการใช้ลดลง ส่วนหนึ่งอาจมาจากหมามุ่ยเป็นเถาที่เมื่อขึ้นแล้วขนจะปลิวไปทำให้เกิดความคัน อย่างไรก็ตาม หมามุ่ยมีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะคุณสมบัติบำรุงกำลัง ช่วยการมีบุตรยาก





    ลักษณะทั่วไปของหมามุ่ย เป็นไม้เลื้อยล้มลุก ลำต้นเล็กเหนียวคล้ายเชือก ดอกออกเป็นช่อห้อยลง สีม่วงแก่ถึงม่วงออกดำ ผลเป็นฝักยาว รูปร่างคล้ายถั่วลันเตา ปกคลุมด้วยขนละเอียดสีน้ำตาลอมแดง หรือ สีทองอมแดง ที่เป็นพิษและหลุดร่วงง่าย ภายในฝักมีเมล็ดรูปไข่ ความพิเศษของหมามุ่ยอยู่ตรงขนอ่อนที่ปกคลุม เพราะเป็นขนที่เต็มไปด้วยสารชนิดหนึ่ง เรียกว่า สารซีโรโทนิน (Serotonin) เมื่อโดนจะทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง โดยฝักจะออกมากในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง และปลิวตามลม ชาวบ้านทั่วไปเมื่อพบจึงมักทำลายเถาหมามุ้ยทิ้ง



    ในอดีตหมอยาแผนโบราณค้นพบวิธีนำหมามุ่ยมาใช้หลากหลายตำรับด้วยกัน โดยนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ราก ใบ ฝัก เมล็ด เช่น ใช้รากแก้คัน ใช้ถอนพิษ ล้างพิษ เมล็ดใช้ทั้งกินเมล็ดคั่ว นึ่ง และบดเป็นผง เพื่อบำรุงกำลัง เพิ่มน้ำเชื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ขณะที่ในประเทศอินเดียพบว่า มีพืชวงศ์เดียวกับหมามุ่ยของไทย ปลูกเพื่อนำไปแปรรูปอย่างจริงจัง เพราะมีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ กระทั่งสกัดเป็นยาเพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศ คลายเครียด และเพิ่มการเผาผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ

    เมล็ดหมามุ่ย สรรพคุณ You02201155p2



    จากรายงานทางการแพทย์ มีการทดลองในสัตว์ พบว่าสารธรรมชาติในหมามุ่ยทำให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น เพิ่มความถี่ในการผสมพันธุ์ได้เป็นสิบเท่า รวมทั้งยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ชะลออาการหลั่งเร็วได้ และเพิ่มปริมาณฮอร์โมนทางเพศ ทั้งนี้ ในปี 2550 มีรายงานผลวิจัยในผู้ชายอินเดีย 75 คน ซึ่งประสบปัญหาการมีบุตรยากเนื่องจากความเครียด พบว่าหลังจากให้เมล็ดหมามุ่ยกินในปริมาณ 5 กรัมต่อวันนาน 3 เดือน ระดับความเครียดลดลง และคุณภาพปริมาณของอสุจิ-น้ำเชื้อเพิ่มขึ้น



    จากการวิจัยพบว่า เมล็ดหมามุ่ยมี สารแอล-โดปา (L-Dopa) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ โดพามีน (Dopamine) หรือสารที่มีอิทธิพลสูงต่อระบบสืบพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นสารสื่อประสาทซึ่งใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสัน แต่ต้องใช้ในรูปที่ผ่านวิธีการสกัดมาเป็นยาเม็ด เพราะร่างกายไม่สามารถรับสารในรูปแบบของเมล็ดแปรรูปหรือสดได้



    สำหรับคนทั่วไปก็สามารถนำเมล็ดหมามุ่ยมาเป็นยาสมุนไพรกินเองได้ แต่ก็มีข้อควรระวัง เพราะการเก็บหมามุ่ยต้องรู้วิธีเพื่อไม่ให้คัน โดยเลือกจากต้นที่ฝักแก่ สังเกตง่ายๆ คือเมล็ดฝักเหมือนจะปริแตก แล้วฉีดน้ำให้เปียกเพื่อป้องกันขนอ่อนที่ฝักฟุ้งกระจาย สวมถุงมือป้องกันแล้วเก็บเมล็ดมาคั่วไฟ แล้วนำไปล้างน้ำก่อนนำไปคั่วไฟอีกรอบ ส่วนข้อควรระวังในการกินเมล็ดหมามุ่ย คือต้องคั่วให้สุก เพราะหากไม่สุก จะเกิดสารพิษบางอย่างขึ้น ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนได้ เพราะในเมล็ดหมามุ่ยมีสารแอล-โดปา ที่จะทำให้สารสื่อประสาทเกิดความไม่สมดุลได้

      เวลาขณะนี้ Thu May 02, 2024 11:21 am