สังคมทำเงิน Make Money Online



Join the forum, it's quick and easy

สังคมทำเงิน Make Money Online

สังคมทำเงิน Make Money Online

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
สังคมทำเงิน Make Money Online

สังคมแห่งการแบ่งปัน แบ่งปันรายได้ แบ่งปันความรู้ แบ่งปันสาระ

clock

ราคาทองคำวันนี้

Statistics

Post ทั้งหมด 1432 หัวข้อ in 641 subjects

สมาชิกทั้งหมด 398 คน

สมาชิกล่าสุดคือ dekinw

เข้าสู่ระบบ(Log in)

ลืม(forget) password

ราคาน้ำมัน

ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน

music online

Ad

คนออนไลน์

website counter

map


    เกษตรธรรมชาติ

    avatar
    Admin
    Admin


    จำนวนข้อความ : 698
    Join date : 06/06/2010

    เกษตรธรรมชาติ Empty เกษตรธรรมชาติ

    ตั้งหัวข้อ  Admin Tue May 21, 2013 1:02 pm

    เกษตรธรรมชาติ





    .

    หลักสำคัญในการทำเกษตรธรรมชาติอย่างหนึ่ง ก็คือ “การเลียนแบบธรรมชาติ”

    ธรรมชาติของต้นไม้ในป่าเมื่อดอก ผล กิ่ง ใบ ร่วงหล่นลงดิน
    ก็จะมีสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ คอยย่อยสลายเศษซากเหล่านั้นกลับคืนสู่ดิน
    สะสมเป็นอาหารให้ต้นไม้นำกลับมาหล่อเลี้ยงลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก ผล
    ได้ต่อไป

    เปรียบเทียบกับการทำการเกษตรของเราในปัจจุบัน เราเก็บดอกผลไปกิน ไปขาย
    เป็นการนำอาหารออกไปจากดินทุกปี โดยไม่เคยใส่คืนกลับมา
    มิหนำซ้ำยังมีการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า
    ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตในดินที่ช่วยย่อยสลายซากพืชซากสัตว์
    ช่วยสร้างอาหารให้พืชถูกทำลายไปด้วย

    เมื่อดินเสื่อม ดินตาย ผลผลิตก็ลดลง ต้องเพิ่มปุ๋ยเพิ่มยามากขึ้น
    ราคาผลผลิตก็ไม่แน่นอนขึ้นลงตามกลไกของตลาด
    ที่คงที่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คือ ราคาปุ๋ยและยา
    ชีวิตเกษตรกรก็กลับเข้าสู่วังวนเดิม ๆ นั่นก็คือ ขาดทุนซ้ำซาก
    หนี้สินพอกพูน ที่ร้ายกว่านั้นคือสุขภาพที่ทรุดโทรมสะสมจากการใช้สารเคมี

    การนำจุลินทรีย์มาปรับใช้ในกระบวนการผลิตของเกษตรกร
    จะสามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้มาก
    การนำเอาจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์มาทำเป็นหัวเชื้อ
    สำหรับนำไปขยายและประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ
    ทั้งการช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้น ควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช
    คืนสมดุลให้กับธรรมชาติ
    เกษตรกรจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีอีก
    ช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น
    คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้นตามไปด้วย

    การใช้หลักชีววิธีในการปรับปรุงบำรุงดิน
    ต้องให้เวลาจุลินทรีย์ทำงานพอสมควร
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินที่ผ่านการใส่ปุ๋ยใส่สารเคมีมาเป็นระยะเวลานาน
    ยิ่งต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษ ไม่มีทางที่ช่วงแรก ๆ
    ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นในพริบตา การงดใช้สารเคมีในทันที
    ผลผลิตก็ต้องลดลงในทันทีเช่นกัน
    (นี่น่าจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้แนวคิดเกษตรยั่งยืนยังไม่เป็นที่ยอมรับ
    ของเกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศ พูดยากครับ เป็นเรื่องของมุมมองและวิธีคิด
    ต้องลองทำเลย ใครทำใครได้ ถือเป็นปฏิบัติปัญญา) แต่เมื่อดินถูกปรับสภาพ
    ปรับโครงสร้าง จนเหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของพืชแล้ว
    เมื่อนั้นผลผลิตก็จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ
    เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน

    .

    ฉะนั้นถ้าจะเริ่มต้น สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ส่งจุลินทรีย์กลับบ้าน … กลับคืนสู่ดิน

    .

    จบครับ … สำหรับหลักการคร่าว ๆ เท่าที่เข้าใจ กลับมาที่สวนดีกว่า
    ที่นี่เราสร้างบ้านที่น่าอยู่ให้กับจุลินทรีย์ด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
    คลุมดินด้วยใบไม้ใบหญ้าและอินทรียวัตถุต่างๆ
    ที่เหลือปล่อยเป็นหน้าที่ของจุลินทรีย์จัดการ ตั้งแต่ตระเตรียมอาหารให้พืช
    ปรับปรุงบำรุงดินให้สมบูรณ์ ร่วนซุย เหมาะแก่การหยั่งรากชอนไชของพืช
    ทั้งยังช่วยทำลายเชื้อโรคร้ายในดินซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคต่างๆ ในพืช
    ทุกวันนี้ผมไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีแล้วครับ
    นอกจากธาตุอาหารเสริมบางตัวที่ยังต้องให้ทางใบ

    หลังจากปรับเปลี่ยนวิถีสวนมาเป็นเกษตรธรรมชาติได้สองปี (ยังเป็นแค่
    semi-natural farming อยู่ครับยังไม่ pure) ที่เห็นได้ชัดคือ
    ปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืชน้อยลงไปมาก ไม่ว่าจะเป็นหนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ
    หนอนคืบกินใบ หรือ เพลี้ยต่าง ๆ ที่เคยเป็นเจ้าประจำ
    แต่ปีนี้ไม่แวะเวียนมาทักทายกันเลย

    น่าจะเป็นผลจากต้นไม้แข็งแรงขึ้น มีภูมิคุ้มกันโรคและแมลง
    และผลจากการใช้สมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชผสมผสานกับการทำงาน
    ของจุลินทรีย์ที่ทำให้เหล่าผีเสื้อมวน ผีเสื้อหนอนทั้งหลายไม่วางไข่
    หรือวางแล้วไข่ฝ่อไม่ฟักเป็นตัว อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ
    สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้แมลงศัตรูธรรมชาติจำพวกตัวห้ำ ตัวเบียน
    มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เป็นลูกมือช่วยเราห้ำหั่น เบียดเบียน
    เจ้าพวกแมลงศัตรูพืชทั้งหลายให้ลดน้อยลง
    จนความเสียหายอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

    ขอสดุดีวีรกรรมของเพื่อนสวนทั้งหลายเท่าที่ปรากฏตัวให้เห็น อาทิ นก
    แมงมุม ตั๊กแตน ด้วงเต่า มวนพิฆาต รวมไปถึงบรรดาต่อ แตน และ มด
    อาจจะมีอีกหลายชนิดที่ไม่รู้จักและไม่เห็นตัว
    ยังไงก็ขอขอบคุณทุกชีวิตที่ได้มาอาศัยและช่วยเหลือกัน

    ยังครับยังไม่แฮปปี้เอนดิ้ง
    ยังมีศัตรูพืชที่สร้างความเสียหายให้สวนผมอยู่ ก็คือ บรรดาแมลงปีกแข็งต่าง ๆ
    จำพวก แมลงค่อมทอง ด้วงปีกแข็ง ที่มาแทะใบอ่อนลำไยซะพรุนไปหมด
    พวกนี้สมุนไพรเอาไม่ค่อยอยู่อย่างมากก็หนีไปแต่สักพักก็กลับมาใหม่
    อีกอย่างช่วง ก.พ-เม.ย เป็นช่วงระบาดของพวกมันพอดี
    ถ้าใช้ยาฆ่าแมลงก็แน่นอนว่าตายหมดแน่ครับไม่มีเหลือ
    รวมไปถึงพรรคพวกเพื่อนสวนแมลงศัตรูธรรมชาติทั้งหลายของผมด้วย
    ที่ทำได้ในตอนนี้คือใช้ระบบแมนน่วล คือ จับมาหักคอทิ้งที่ละตัวสองตัว
    ยังดีที่ควบคุมทรงพุ่มเอาไว้ไม่ให้สูงเกิน ๓ เมตร
    ทำให้ไม่ลำบากมากนักเวลาไล่ล่าพวกมัน

    .

    เกษตรธรรมชาติ Na-01-400

    ห้องทำงานของจุลินทรีย์

    เกษตรธรรมชาติ Na-02-400

    นี่ล่ะครับไอ้ตัวร้าย … แมลงค่อมทอง

    เกษตรธรรมชาติ Na-03-400

    ดูมันทำ … ชีวิตช่างรื่นรมย์เสียจริง

    เกษตรธรรมชาติ Na-04-400

    นี่อีกตัวครับ … ด้วงปีกแข็ง

    .

    มานึกดูแล้วก็ผิดที่เราเองนี่แหละที่คิดทำลำไยนอกฤดู
    พวกแมลงศัตรูพืชทั้งหลายเลยมีอาหารกินตลอดทั้งปี จริง ๆ
    ช่วงนี้เป็นช่วงที่ลำไยธรรมชาติเริ่มติดผลเท่าหัวไม้ขีดแล้ว
    แต่ของเรากำลังเร่งให้แตกใบเพื่อสะสมอาหารเตรียมทำนอกฤดู

    นี่คงเป็นผลของการเหยียบเรือสองแคม
    ปลูกพืชเชิงเดี่ยวแต่ริใช้วิธีธรรมชาติ
    ทั้งที่จริงแล้วเกษตรธรรมชาติควรมีความหลากหลาย ผสมผสาน
    และมุ่งหวังเพียงเพื่อการยังชีพ แต่ผมยังมั่นใจอยู่ลึก ๆ ว่า
    การประยุกต์ศาสตร์ทางการเกษตรรูปแบบต่าง ๆ มาใช้
    โดยอยู่บนพื้นฐานของการเคารพนบนอบกับธรรมชาติ
    น่าจะสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้กับชีวิตได้
    แม้ผมจะมุ่งหวังทำการเกษตรในเชิงการค้าเป็นหลักก็ตาม

    คงต้องปวดหัวกันอีกหลายยกล่ะครับกับการใช้ธรรมชาติช่วยฝืนธรรมชาติ

    .

    สนใจศีกษาเรื่องราวของแมลงศัตรูธรรมชาติ เชิญ ที่นี่ เลยครับ

    .

    แก้ไขเพิ่มเติม วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑

    เนื่องจากลิงค์ข้างบนกลายเป็น bad link ไปเสียแล้ว เลยขอแนะนำ
    ความรู้เบื่องต้นเรื่อง “การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
    จากนิตยสารเกษตรศาสตร์ ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗
    ไว้ให้แทน และถ้าสนใจในระดับ advanced
    ขอแนะนำแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้แมลงศัตรูธรรมชาติในการควบคุมโรค
    และแมลงศัตรูพืช จากเอกสารเผยแพร่ของศูนย์บริหารศัตรูพืช จ.เชียงใหม่
    กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จำแนกไว้ดังนี้
    avatar
    Admin
    Admin


    จำนวนข้อความ : 698
    Join date : 06/06/2010

    เกษตรธรรมชาติ Empty ไผ่ตงมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ตงหม้อ ตงดำ ตงเขียว และตงหนู

    ตั้งหัวข้อ  Admin Tue Jun 11, 2013 6:49 pm


    ไผ่ตงมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ตงหม้อ ตงดำ ตงเขียว และตงหนู




    <blockquote class="postcontent restore ">
    เกษตรธรรมชาติ 1439d1345114713-%E0%B9%84%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88-4-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C-%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AD-%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B3-%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B9-
    ไผ่ตงมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ตงหม้อ ตงดำ ตงเขียว และตงหนู โดยลักษณะตามสายพันธุ์มีดังนี้

    1. ไผ่ตงหม้อ หรือ ไผ่ตงใหญ่ หรือ ไผ่ตงหนัก
    ไผ่ตงสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุด จึงมีลำขนาดใหญ่ ลำยาวตั้งแต่ 10 เมตร
    ขึ้นไป ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นประมาณ 12-18 เซนติเมตร
    ใบมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ กอโปร่ง เพราะแตกกิ่งแขนงน้อย
    หน่อมีขนาดใหญ่มาก หนักประมาณ 5-10 กิโลกรัม (หน่อหนักประมาณ 20 กิโลกรัม
    ก็เคยมี แต่เมื่อสมัยก่อนที่ยังอุดมสมบูรณ์และอายุกอยังไม่มาก)
    หน่อมีสีน้ำตาลอมม่วงและน้ำตาลดำอมม่วง บนกาบหน่อมีขนค่อนข้างละเอียด
    เนื้อหน่อมีสีขาว แต่แข็งและหยาบกว่าตงดำ ช่วงออกหน่อจะอยู่กลางฤดูฝน
    (กรกฎาคม-สิงหาคม)

    2. ไผ่ตงดำ หรือ ไผ่ตงกลาง สายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่รองลงมาจากไผ่ตงหม้อ
    คือเส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 6-12 เซนติเมตร หรือมีเส้นรอบวงประมาณ 30-40
    เซนติเมตร ที่สำคัญลำต้นมีสีเขียวเข้มจนไปถึงอมดำ
    จึงเป็นที่มาของชื่อตงดำ ลำต้นเตี้ยกว่าและสั้นกว่าตงหม้อ
    ข้อค่อนข้างเรียบ และที่พิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ
    จะมีแป้งสีขาวจับอยู่บริเวณปล้อง
    ใบมีสีเขียวเข้มขนาดใหญ่และหนากว่าไผ่ตงสายพันธุ์อื่นๆ
    หน่อไผ่ตงดำจัดเป็นสุดยอดหน่อไม้ที่มีคุณภาพดีมาก เนื่องจากมีรสหวาน กรอบ
    เนื้อขาวละเอียด ไม่มีเสี้ยน นิยมนำมาทำตงหมก หน่อจะมีน้ำหนักประมาณ 3-6
    กิโลกรัม

    3. ไผ่ตงเขียวนี้จะมีขนาดลำต้นเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ
    มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-12 เซนติเมตร สีของลำต้น จะเป็นสีเขียว
    เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ใบมีขนาดปานกลาง บางและสีเขียวเข้ม
    จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีน้ำหนัก 1-4 กิโลกรัม
    หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวานอมขื่นเล็กน้อย เนื้อเป็นสีขาวอมเหลือง
    ไผ่ตงเขียวมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี นอก
    จากนี้แล้วไผ่ตงเขียวยังมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกใน
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีผู้นิยมปลูกกันมากไม่แพ้ไผ่ตงดำ

    4. ไผ่ตงหนู หรือ ตงเล็ก เป็นพันธุ์ขนาดเล็ก
    มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่เพียง 3-6 เซนติเมตร
    ไผ่ตงชนิดนี้ยังปลูกกันน้อย เนื่องจากให้ผลผลิตต่ำกว่าไผ่ตงอื่น ๆ
    แหล่งปลูกภาคเหนือที่ได้ผลดีคือ ที่จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่
    ส่วนจังหวัดอื่น ๆ ยังมีปลูกกันไม่มากครับ

    ไผ่ตงที่ขายกันส่วนมากแล้วก็จะมีตงหม้อและตงเขียวศรีปราจีนที่ขายกัน
    และกิ่งพันธุ์ไผ่มักนิยมขยายด้วยวิธีตอนกิ่งซะเป็นส่วนใหญ่ เพราะไผ่
    ตงออกรากง่าย ลำหนึ่งตอนได้ทีเป็นสิบกิ่ง
    และกิ่งพันธุ์มีโอกาสรอดร้อยเปอร์เซ็นต์
    แต่การขยายพันธุ์ด้วยวิธีชำกิ่งแขนง
    และชำลำที่มีแขนงติดมาด้วยก็นิยมเช่นกัน เพราะสะดวกรวดเร็ว และได้จำนวนมาก
    ส่วนวิธีดูว่ากิ่งพันธุ์ที่ขายนั้นเป็นไผ่ตงจริงหรือไม่นั้น
    มีลักษณะดูง่ายๆ คือ ที่ลำแม่ที่เขาตัดมาชำนั้น
    ที่หัวเขาจะตัดให้เป็นหัวแหลมหรือเฉียงนั่นเอง ส่วนไผ่เลี้ยงจะตัดตรงๆ
    สังเกตลักษณะการตัดได้ที่ลำแม่ที่ชำเช่นกัน

    ไผ่ตง เราจะเน้นบริโภคหน่อเป็นหลัก
    แต่ลำก็ใช้ติดตรงที่เนื้อไม้บางลำกลวงมีช่องว่างมาก
    เหมาะกับการทำของที่ระลึก ของใช้ ของชำร่วยที่ไม่มีการกดทับมากนัก
    เฟอร์นิเจอร์ก็ทำได้แต่ต้องพิถีพิถันตั้งแต่ขั้นตอนการตัด การรักษาเนื้อไม้
    และการประกอบ
    </blockquote>

      เวลาขณะนี้ Fri Apr 19, 2024 12:19 pm